สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ

สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ

ถ้าว่ากันถึงความเข้มข้น วีระศักดิ์ ขุขันธิน ศักดิ์สิทธึ้ เชื้อกลางและระพินทร์ พุฒิชาติ ถือเป็นตัวแทนของคนเพื่อชีวิต
ได้อย่างไม่ต้องมี ข้อกังขา ผลงานการรวมตัวต่างกรรมต่างวาระของน้าวี น้าเศก และน้าชู ที่ทุกคนเรียกขาน คือหลักไมล์สำคัญของวงการเพลงเพื่อชีวิตที่ลงหลักปักฐานชัดเจนในขวบปีที่เคลื่อนไป หากจะขยายความ เทปหน้า a ม้วนนี้จะเริ่มต้นด้วยความเบ่งบานของเพลงเพื่อชีวิตในวันที่ คุรุชน รวมฆ้อน ที่ขับเคี่ยวอุดมการณ์ในยุค 14 ตุลา ต่อด้วยวยการทำเพลงในป่าและโฟล์กใต้ดินในเมืองในยุคปราบนักศึกษา 6 ตุลา การกลับเข้าเมืองเพื่อทำเพลงสองความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ใน สองวัย ไปถึงยุคเฟื่องฟูถึงขีดสุดของเพลงเพื่อชีวิตที่สะท้อนออกมาใน กะท้อน และ ซูซู จนกระทงถึงคราวชบเซาร่วงโรยแลแยกย้าย

รูปสมาชิกวงสองวัยเมื่ออดีตประมาณปี 2526

เพลงสะพานสายรุ้ง ขับร้อง วง สองวัย แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย กิตติพงษ์ ขันธกาญจน์

ตึก! กรุณากลับเทป เพราะหน้า b คือภาคต่อของความเข้มข้นทั้งสาม ที่กลับมารวมตัวกันอีกครั้งโดยมีเข็มมุ่งเดียวกันคือการขับไล่ผู้นำประเทศ

เรียกได้ว่าตั้งแต่มีการชมนุมของกล่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พวกเขาถือเป็น ขาประจำ ทีขึ้นเวทีด้วยเสียงเพลง เหมือนเช่นที่เคยทำหน้าที่นั้นในครั้ง 14 ตุลา แต่แตกต่างเพียงเงื่อนไข “ เพลงเพื่อชีวิตสไตล์ของเรามันรับใช้ความเป็นปัจจุบัน ตามประวัติศาสตร์ที่มีการต่อสู้ทางความคิด ทางการเมือง ทางสังคม สังคมเสื่อมเราก็พูตเรื่องสัึงคม การเมืองเลว เราก็เอาประชาธิปไตยต้านเผต็จการ อยู่ในเรื่องแบบนี้ตลอด อย่างช่วง 1 4 ตุลา เข็มมุ่งคือการต่อต้านนายทุนที่เอาเปรียบชาวนา เอาเปรียบกรรมกร ต่อต้านอเมริกาที่เข้ามาครอบครองประเทศโลกที่สาม และต่อต้านเผต็จการไม่ให้ฟื้นตัวขึ้นมา ส่วนตั้งแต่กุมภามานี้เราก็มีเพลงเกี่ยวกับการโกงกินของทักษิณ เกี่ยวกับการเดินขบวน เพลงปิดกั้นสื่อ เพลงเปิตโปงหุ้นเทมาเส็ก เข็มมุ่งมันเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ” ศักคิ์สิทธิ์บอกเล่าเชิงเปรียบเทียบ

และเมื่อการต่อสู้ด้วยดนตรีและมือเปล่าจบลงที่การปฏิวัติ พวกเขาก็เข้าใจในสถานการณ์ เพียงแค่อดเสียดายพลังที่เขาเห็นจากบนเวทีไม่ได้ และนี้ไม่ใช่ผลแพ้ ชนะ ที่พวกเขาต้องเลือกข้าง พวกเขาเพียงทำหน้าที่ อย่างน้อย พวกเขาก็เชื่อว่าการขับเคลื่อนสังคมคือหน้าที่ “ เราต้องทำงานเพลงเพื่อให้การศึกษากับประชาชนที่ยังไม่เข้าใจ ” วีระศักตบอกวัตถุประสงค์ ก่อนที่ระพินทร์จะเล่าให้ฟังว่า อะไรที่ขับและผลักให้พวกเขาน้อมรับหน้าที่ที่ไม่สู้ใครมอบหมายด้วยความเต็มใจ

“ เราโตมาในยุคฮิปปี้ แอนตี้สงคราม คือช่วงนั้นจีไอมาตั้งฐานทัพเพื่อรบกับสงครามเวียดนาม แล้วเราก็รู้สึกว่า เฮ้ย! เราเป็นอาณานิคมของอเมริกันเหรอ นี่คือปัจจัยภายนฦก ถ้าปัจจัยภายใน เฮ้ย! ทำไมเรียนหนังสือต้องจำตลอดเวลาทำไม่สร้างจินตนาการให้เรา เราจึงมีความคิดที่เริ่มมองหา แล้วยิ่งเข้าไปมหาลัย เห็นหลักสูตร เห็นว่าโลกนี้มันก็มีสิทธิเสรีภาพนะ แต่บ้านเมืองเรามันกดขี่ เอาเปรียบ ครอบงำเราเราก็ต้องสู้ ”

แม้ว่าหลังจากการต่อสู้ เพลงเพื่อชีวิตก็เข้าสู่ความเฟื่องฟู และทำให้สารที่เคยสื่อออกไป ไม่เหมือนเดิม “ เมื่อก่อนมันวงแคบอยู่แค่ประชาชนหรือนักศึกษาที่เข้าใจการเมืองมากหน่อย แต่พอมาเป็นการขายในวงกว้าง ก็พูดถึงวิถีชีวิตของคนทั่วไปความไม่พอใจของสังคมบางส่วนที่พูดแล้วคนส่วนรวมเข้าใจ ในขณะเดียวกันมันกมีความบันเทิงอยูในนั้น เน้นจังหวะ เน้นท่อนฮคที่จำได้หน่อยเน้นวิธีแบบโปสเตอร์ ไม่ชับช้อน เข้าใจง่าย ” แข่งเรือ สาวรำวง บ่อสร้าง-กางจ้องอ้อล้อ แม่นบ่ และอีกหลายเพลงฮิตของพวกเขา คือตัวแทนของยุคนั้น

เพลงสาวรำวง ขับร้อง วง กะท้อน แต่งเนื้อร้อง-ทำนองโดย ศักดิ์สิทธิ์ เชื้อกลาง

แต่หน้าที่ไม่ได้หายไปกับความเป็นธุรกิจ เพราะพฤติกรรมเพื่อชีวิตที่พวกเขาบอกว่าไม่ได้เป็น ภาคบังคับ แต่มันต้องสอดคล้องกับความคิตและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เขาเชื่อว่า ถ้าใช้ชีวิตแบบป๊อปปูล่าร์ พวกเขาจะเอาอารมณ์ ความรู้สึก และวัตถุดิบมาจากไหน

“ ถ้าเสแสร้ง มันจะขาดความศรัทธา มันแสดงออกมาได้ในตัวงานที่จะไม่ประสบความสำเร็จ ” อีกภาคของศักติ์สิทธิ์ในฐานะโปรติวเชอรงานเพลงลูกทุ่งฟันธง ก่อนจะว่ากันต่อถึงเรื่องจิตสำนึก “ ผมเขียนเพลงรับจ้าง มันคือการทำมาหากิน บริษัทนี้อยากได้อย่างนี้ไม่ต้องเพื่อชีวิตนะเอาสนุกอย่างเดียว ได้ แต่ถ้าจะให้ผมเขียนแบบเรียกป๋ามาดูตัว หรือว่าโชว์นมก้มต่ำ ผมก็ไม่ทำนะ ผมไม่สร้างศิลปะที่หยาบโลนแบบนั้นเพื่อเรียกร้องให้สังคมมันแย่ลงกว่านี้ มันต้องมีสำนึกร่วม”

และถ้าจะว่ากันอย่างเป็นธรรม สำนึกร่วมที่วา ควรจะมาทั้งฝั่งฟากของคนทำ และฟากฝั่งของคนเสพต้วย “ หลายปีมานี่ ผมแต่งเพลงดี ๆแต่ผมไม่อยากปล่อยออกไป เสียดายครับ ปล่อยออกไปให้เขาไรต์กันเปล่า ๆ เขาไม่เห็นคุณค่าของคนสร้างงาน งานของผมเป็นแฮนด์เมดนะครับ มันไมใช่การผลิตถังน้ำพลาสติก ผมทำได้ชิ้นเตียว อย่าง บ่อสร้างกางจ้อง ผมไม่สามารถก๊อบปี้อย่างนี้มาได้อีกหลาย ๆ อัลบั้ม ผมไมสามารถทำ แข่งเรือ บึ้ด จ้ำ บึ้ด ออกมาได้อีก ผมก๊อบปี้ตัวเองไม่ได้หรอก ” ระพินทร์ระบายเหตุผลสำคัณ ที่ทำให้เราไม่เห็นอัลบั้มใทม่ของพวกเขาบนแผงเทป

หลังเสียงทอดถอนใจ เราได้แต่หวังว่าต้นสำนึกที่ปลูกยากปลูกเย็นต้นนี้ จะแตกหนอผลิใบในความคิดได้บ้าง ก่อนที่หลักไมล์จะล้มครืน เพราะปักอยู่บนเลนเหลวไหล!

คัดลอก จาก a day 74
จิราภรณ์ วิหวา เรื่อง
ชนพัฒน์ เศรษฐโสรัถ ภาพ
ภาพประกอบ http://www.oknation.net/blog/print.php?id=29562
http://www.tidso.com/board_1/view.php?id=1348

Be the first to leave a reply

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *