หมวดหมู่: รอยทางเพลงเพื่อชีวิต

ตังเก สุดยอดเพลงเพื่อชีวิตของ พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ

เพลงตังเก
พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ
(พ.ศ. 2533 อัลบั้มคนจนรุ่นใหม่)
ฉันเกิด อยู่แดน อีสาน ถิ่นกันดารที่เขา ดูหมิ่น ดูแคลน
จากไกลไปหากินต่างแดน ก็อาลัยแสนเมื่อจำต้องพรากบ้านมา

ร่อนเร่ พเนจรไป เหมือนนกไพรไร้พง พนา
ไม่ได้จับไถ เลยไปจับปลา ไม่ได้ทำนา เลยมากับ เรือ ตังเก

แรกแรก ก็กลัวหลายหลาย ต้องเมามาย คลื่นโอ ละเห่
คิดถึงแม่ ที่เคยไกวเปล โอ้เปลน้อย คือเรือตังเก มีแม่ทะเล กล่อมนอน แรงแรง

แม่ โมโหใครมา หรือเป็นตำรา ให้ลูกแข็งแกร่ง
ลูก ขอปู ขอปลา มากมากเถิดหนา พอเป็น ค่าแรง
ทะเล มันถมไม่เต็ม เหมือนคนใจเค็ม ที่คอยยื้อแย่ง
คนจน ก็ถมไม่เต็ม แต่ใจไม่เค็ม ทำงานเข้มแข็ง
อยากมีเรือสักลำ จะพาคนงามที่คิด จะแต่ง
ลอย ล่อง ลำ นาวา ให้ปลาอิจฉา เวลา คลื่น แรง

ถ้าจะว่าเพลงเพื่อชีวิตกำลังจะตาย ก็ว่าได้แต่ผมว่าควรใช้ว่าเพลงเพื่อชีวิต “กำลังจะกลาย” มากกว่า เนื่องด้วยบุคคลากรที่มีคุณภาพของวงการไม่อาจทานต่อกระแสนิยมในปัจจุบันได้ ทำให้นักแต่งเพลงเก่งๆหลายคนต้องปรับเปลี่ยนวิธีการนำเสนอจากคำว่าเพื่อชีวิตเป็น”ลูกทุ่งเพื่อชีวิต” อีกทั้งศิลปินเพื่อชีวิตทั้งหลายก็ไม่มีเพลงดีๆให้ได้ฟังกัน ศิลปินรุ่นใหม่ก็ยังไม่เห็น ทำให้ลมหายใจของเพลงเพื่อชีวิตโรยรินลงทุกขณะ คงต้องรอความหวังจากใครสักคนที่มีเพลงดีๆจุดประกายชูธงเพื่อชีวิตให้โชติช่วงอีกครั้งเหมือนที่คาราบาวเคยทำในชุดเมดอินไทยแลนด์เมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา 

เกริ่นนิดหน่อยนะครับเผื่อใครเกิดไม่ทัน มาว่ากันที่เพลงตังเก ที่กล่าวว่าเป็นเพลงที่ดีที่สุดของน้าหมูเพราะ ดนตรี เสียงร้อง เนื้อร้อง กลมกลืนอย่างลงตัว เสียงดนตรีที่เหมือนงานแห่นาคเข้าโบสถ์โดนใจคอเพื่อชีวิตอย่างจัง เสียงร้องที่น่ารักหน้าชังฟังแล้วไม่มีเบื่อ ทีนี้ลองมาว่ากันเรื่องเนื้อร้องนะครับ

เล่าเรื่องเกิดที่ไหน ไปไหน ทำอะไร รู้สักยังไง ครบรส รัก เศร้า คิดถึง หวัง อีกทั้งสัมผัสนอกในมีให้เห็นทั้งเพลงยิ่งเพิ่มความไพเราะน่าฟังเข้าไปอีก ยกบางท่อนของเพลงมาดูนะครับ 


“ฉันเกิด อยู่แดน อีสาน ถิ่นกันดารที่เขา ดูหมิ่น ดูแคลน
จากไกลไปหากินต่างแดน ก็อาลัยแสนเมื่อจำต้องพรากบ้านมา”
ขึ้นเพลงมาด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ ถิ่นอีสานบ้านเฮา ไม่มีงานให้ทำจำต้องย้ายไปหางานที่ภาคใต้
( ซึ่งต่อมาในปี 2539 น้าหมูได้ออกเพลง สถาพร คนใต้ย้ายมาทำงานภาคอีสานบ้าง )

” จากไกลไปหากินต่างแดน ก็อาลัยแสนเมื่อจำต้องพรากบ้านมา “
คิดถึงบ้านจังเลย

“ไม่ได้จับไถ เลยไปจับปลา ไม่ได้ทำนา เลยมากับ เรือ ตังเก”
ท่อนนี้เล่นคำหน้าหลังใช้คำเดียวกัน ลองร้องดูซิครับเพราะดี

” คิดถึงแม่ ที่เคยไกวเปล โอ้เปลน้อย คือเรือตังเก มีแม่ทะเล กล่อมนอน แรงแรง”
เปรียบเปรยเปลที่แม่ไกวกับเรือที่โล้ไปโล้มา ทะเลเป็นแม่กล่อมลูกที่เป็นเรือ ( คิดได้ยังไง ) 

” แม่ โมโหใครมา หรือเป็นตำรา ให้ลูกแข็งแกร่ง
ลูก ขอปู ขอปลา มากมากเถิดหนา พอเป็น ค่าแรง “
พอเรือเรื่อมโคลงมากลูกก็ไม่โกรธกลับคิดเป็นบททดสอบชีวิต แต่ขอสักหน่อย

” ทะเล มันถมไม่เต็ม เหมือนคนใจเค็ม ที่คอยยื้อแย่ง
คนจน ก็ถมไม่เต็ม แต่ใจไม่เค็ม ทำงานเข้มแข็ง “
อันนี้ก็ตำหนิ( คาดว่าเป็นเถ้าแก่เจ้าของเรือที่ให้ค่าแรงน้อย )นิดหน่อยพอหอมปาก หอมคอ

” อยากมีเรือสักลำ จะพาคนงามที่คิด จะแต่ง
ลอย ล่อง ลำ นาวา ให้ปลาอิจฉา เวลา คลื่น แรง “
คงไม่มีใครอยากเป็นลูกจ้างไปตลอดชีวิต อยู่กลางทะเลมันเหงาๆก็คิดถึงแฟนเป็นธรรมดา เวลาคลื่นแรงๆเรือจะโต้คลื่นไงครับหนุ่มสาวที่อยู่บนเรื่อก็จะโอนไปเอนมาหนุมก็กอดกันไม่ให้ล้ม มันน่าอิจฉาไหมละ

เป็นความชอบส่วนตัวเลยขออนุญาติถ่ายทอดความรู้สึก และมุมมองที่มีต่อเพลงที่ผมคิดว่าดีที่สุดของน้าหมู พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ เผื่อเพลงนี้จะเป็นต้นแบบวิธีคิดในการเขียนเพลงเพื่อชีวิตเพลงอื่นๆต่อไป อยากฟังเพลงเพื่อชีวิตเพราะๆครับ

เพลงตังเกอยู่ในชุดคนจนรุ่นใหม่ ปี พ.ศ. 2533
ใครที่ยังไม่เคยฟังเพลงนี้ลองหามาฟังนะครับ เพลงเค้าเพราะจริงๆ

สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ

สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ

ถ้าว่ากันถึงความเข้มข้น วีระศักดิ์ ขุขันธิน ศักดิ์สิทธึ้ เชื้อกลางและระพินทร์ พุฒิชาติ ถือเป็นตัวแทนของคนเพื่อชีวิตContinue reading สองวัย-กระท้อน-ซูซู เพื่อชีวิตรวมการเฉพาะกิจ

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…09 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่3

เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่3

วงดนตรีเพื่อชีวิตวงแรกที่สร้างความประทับใจให้แก่คนรุ่นนั้นเป็นอย่างมาก คือวงดนตรี “คาราวาน” ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอดีตContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…09 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่3

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…08 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่2

เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่2

สุรชัย จันทิมาธร ศิลปินเพลงเพื่อชีวิตผู้ยิ่งใหญ่ ถือกำเนิดบทบาทของการเป็นศิลปินเพื่อชีวิตขึ้นมาในเหตุการณ์ครั้งนั้น เขาเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ร่วมในการประท้วง คอยแต่งบทกลอนต่างๆ ส่งให้โฆษกบนเวทีอ่านให้ประชาชนฟัง เพื่อปลุกเร้ากำลังใจและรวบรวมความคิดให้เป็นหนึ่งเดียวกัน และเขาได้แต่งเพลง ” สานแสงทอง ” โดยเอาทำนองมาจากเพลง FIND THE COST OF FREEDOM ของวงดนตรี ครอสบี สติล แนช แอนด์ ยังก์ เนื้อร้องมีอยู่ว่าContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…08 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่2

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…07 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่1

เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่1

เพลงเพื่อชีวิต นั้นมีผู้กล่าวว่า “หมายถึงเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของประชาชน”
จริงอยู่ การเปลี่ยนแปลงของสังคมในอดีตนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่า เพลงเพื่อชีวิตและกลุ่มศิลปินเพลงในอดีตก็มีส่วนเกี่ยวข้องอยู่ด้วยContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…07 เพลงเพื่อชีวิต ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน (2516-2519) ตอนที่1

เส้นทางเพลงเพื่อชีวิต…06 จิตร ภูมิศักดิ์ ต้นธารเพลงเพื่อชีวิต

จิตร ภูมิศักดิ์ ต้นธารเพลงเพื่อชีวิต

เสียงเพลงเสียงดนตรีเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสร้างความบันเทิงเริงรมย์แก่ชีวิต เมื่อสังคมซับซ้อนขึ้น บางครั้งเสียงเพลงถูกนำมาใช้เพื่อจุดมุ่งหมายอื่นอีก เช่น ปลุกใจให้รักพวกพ้อง รักชาติ ฯลฯ แน่นอนเสียงเพลงยังเป็นเพื่อนคลายเหงาบรรเทาความร้าวรานของผู้ทุกข์ยากและผู้ถูกกดขี่ด้วยContinue reading เส้นทางเพลงเพื่อชีวิต…06 จิตร ภูมิศักดิ์ ต้นธารเพลงเพื่อชีวิต

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…05 ทศวรรษที่ 2490 ขุมทองของเพลงชีวิต

ทศวรรษที่ 2490 ขุมทองของเพลงชีวิต

ความตื่นตัวในวงการเพลงที่มีสถานีวิทยุและธุรกิจแผ่นเสียงเป็นแรงกระตุ้นสำคัญทำให้รูปแบบและเนื้อหาเพลงชีวิตในทศวรรษ 2590 พัฒนาไปในทิศทางที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แพร่กระจายไปสู่ความรับรู้ของมวลชนระดับกว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมๆ กับการที่แนวเพลงรักหวานชื่นของวงดนตรีสุนทราภรณ์กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในยุคนี้ แนวเพลงชีวิตก็มี คำรณ สัมบุณณานนท์ เป็นตัวแทนภาพลักษณ์ที่เด่นชัด โดยมีนักประพันธ์เพลงคนสำคัญคือ ไพบูลย์ บุตรขัน ป้อนเพลงให้จนคำรณพุ่งขึ้นสู่ความรุ่งโรจน์ถึงขีดสุดในยุคนี้เช่นกัน โดยมีนักร้องร่วมสมัยอย่างชาญ เย็นแข, ชลอ ไตรตรองสอน และปรีชา บุญเกียรติ เติมสีสันให้วงการเพลงชีวิตมีความคึกคักมากยิ่งขึ้นContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…05 ทศวรรษที่ 2490 ขุมทองของเพลงชีวิต

เส้นทางเพลงเพื่อชีวิต…04 ทศวรรษที่ 2480 เพลงชีวิตยุคบุกเบิก

ทศวรรษที่ 2480 เพลงชีวิตยุคบุกเบิก

ทศวรรษ 2480 คือจุดกำเนิดเพลงไทยสากลในแนว “เพลงชีวิต” และเพลงเสียดสียั่วล้อสังคม อันนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ “ศิลปิน” มีบทบาทสะท้อนภาพความทุกข์ยากของผู้คน การโกงกินของผู้แทน, นักการเมือง ออกมาในบทเพลงของเขา โดยมีสภาพสังคมระหว่างสงครามและหลังสงครามเป็นปัจจัยเกื้อหนุนContinue reading เส้นทางเพลงเพื่อชีวิต…04 ทศวรรษที่ 2480 เพลงชีวิตยุคบุกเบิก

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…03 จากแสงนภา ถึง เสน่ห์ โกมารชุน นักเพลงยั่วล้อสังคม

จากแสงนภา ถึง เสน่ห์ โกมารชุน นักเพลงยั่วล้อสังคม

ในยุคสมัยไล่เลี่ยกับความโด่งดังของแสงนภา ยังมีนักร้องนักแต่งเพลงแนวชีวิตอีกท่านหนึ่งคือ เสน่ห์ โกมารชุน ศิลปินเพลงประจำวงดุริยางค์ทหารเรือ เขามีผลงานเพลงหลายแนว ทั้งเพลงหวานซึ้งกินใจ อย่างเพลง “งามชายหาด” และ “วอลท์ซนาวี” แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากคือแนวเพลงชีวิตในรูปแบบ “เพลงยั่วล้อสังคม” มองโลกมองชีวิตมองการเมืองด้วยอารมณ์ตลก ขบขัน ประชดประเทียดเสียดสี เช่นเพลง “สุภาพบุรุษปากคลองสาน” หรือที่รู้จักกันในชื่อเพลง “บ้าห้าร้อยจำพวก” เสียดสีคนที่ยึดติด งมงายกับสิ่งต่างๆ ด้วยลีลาตลกขบขัน หรือเพลง “โปลิศถือกระบอง” ยั่วล้อตำรวจที่เริ่มใช้กระบองปราบผู้ร้ายContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…03 จากแสงนภา ถึง เสน่ห์ โกมารชุน นักเพลงยั่วล้อสังคม

เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…02 ปฐมบทเพลงเพื่อชีวิต “แสงนภา บุญราศรี” ราชาเพลงชีวิตผู้ถูกลืม

ปฐมบทเพลงเพื่อชีวิต  เผยตำนาน “แสงนภา บุญราศรี”  ราชาเพลงชีวิตผู้ถูกลืมContinue reading เส้นทาง เพลงเพื่อชีวิต…02 ปฐมบทเพลงเพื่อชีวิต “แสงนภา บุญราศรี” ราชาเพลงชีวิตผู้ถูกลืม